วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ใบงานที่ 3 การติดตั้ง windows XP , 7 และ คำสั่ง DOS

วิธีการลง windows 7

 
สิ่งที่ต้องเตรียม
1. แผ่น windows 7 ตาม Edition ของท่าน
2. คอมพิวเตอร์ PC / Notebook
3. USB ถ้าหากต้องการ Load driver บางตัวสำหรับ Harddisk
วิธีการลงดังนี้ครับ
1. ใส่แผ่น Windows7 ลงใน CD-Rom จากนั้นทำการ Boot Computer
เมื่อเห็นข้อความดังกล่าวดังรูป ให้กด Enter 1ครั้งเพื่อเป็นการเข้าสู้หน้าต่างของการลง Windows7
** ในการปรับให้ให้ Bios นั้น Boots จากแผ่้นเป็นอันดับแรก
-โดยส่วนมาก PC จะกด del / . เข้าไปทำการเซ็ตค่า
- Notebook ส่วนมากจะกด F2 หรือให้สังเกตุดีๆตอนที่คอมพิวเตอร์Boot มันจะบอกอยู่
-แต่ถ้าเราต้องการกดใช้ Boot menu เลย ทั้ง Notebook / pc ส่วนมากจะกด F12 , F10 ครับ
13
2. ให้เราทำการเลือกดังภาพ
Language to install : English
Time : Thai(Thailand)
Keyboard : US ให้เลือกเป็น US ก่อน
Windows7_1
3. จากนั้นให้ทำการกด Install now
Windows7_2
4. ให้เราเลือก OS ที่เราต้องการลง โดยจะ มีทั้ง x86(32bit) , x64(64bit) แนะนำว่าผู้ใช้ทั่วไปควรลง x86 และกด Next
Windows7_3
5. ยอมรับเงื่อนไข Lincene ของ windows 7
- ให้เราทำการ ติ๊ก(√) I accept the license > Next
Windows7_4
6. เมื่อผู้อ่านลง Windows 7 ใหม่หรือลงครั้งแรกจากการซื้อคอมพิวเตอร์ ก็ให้เลือก Custom(advanced)
Windows7_5
7. ขั้นตอนนี้เราเราเลือก Drive ที่จะลง OS Windows7 ส่วนมาก จะลงใน Disk 0 นะครับ ก็คือ Drive C: ของ windows เรานั้นเอง อย่าลง ผิด Drive นะครับดูดีดี
Windows7_6
************
สำคัญ แต่สำหรับคนที่เคยลง windows 7 แล้ว หรือลง windows ตัวอื่นแล้วจะมาลง Windows 7 ใหม่ให้ทำขั้นตอนนี้ด้วยนะครับ
ให้ไปที่ Drive options (advanced)
windows7_15
จาก นั้นให้เราเลือก Drive ที่เราเคยลง OS มาก่อน จากนั้นก็เลือก format ก่อนครับ จากนั้นก็เลือก Drive ที่เราจะลง OS จากนั้นก็กด Next






windows7_16

8. ขั้นตอนนี้ให้เรารอเวลาใน Install windows 7
Windows7_7
9. หลังจากนั้นให้เราใส่ชื่อ ผู้ใช้ อาทิเช่น ITITHAI จากนั้นก็กด Next
Windows7_8
10. Windows จะให้เราใส่ Password ในการ Login แต่ถ้าเราไม่ต้องการใส่ก็ให้ข้ามขั้นตอนนี้ไปเลยครับ
Windows7_9
11. ขั้นตอนนี้ให้เราใส่ Product key ซึ่ง Product key จะอยู่ที่กล่อง ที่เราทำการซื้อ Windows 7 มาครับ
Windows7_10
12. ขั้นตอนนี้ให้เราเลือก Use recommended Setting เพื่อเป็นการ Update Patch windows ต่างๆ
Windows7_11
13. ให้เราเลือกเวลา Time Zone : UTC+07.00 Bangkok,Hanoi,Jakarta
windows7_12
14. ในหัวข้อนี้ถ้าเรายังไม่แน่ใจ ให้เราเลือก Public network (ตามที่Microsoft แนะนำ)
Windows7_14

15. จากนั้นเราก็จะได้ Window7 ที่หน้าตาที่สวยงาม ดังภาพ ครับ โชคดีในการลงนะครับ





windows7-13
16. ก็เป็นเสร็จสิ้นในการลง Windows 7 แล้ว เป็นไงละครับ ง่ายไหมครับ กับการลง Windows 7

....................................................................................................
วิธีการลง Windows XP

มาดูขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้น การติดตั้ง Windows XP กันครับ

เริ่มต้น โดยการเซ็ตให้บูตเครื่องจาก CD-Rom Drive ก่อน โดยการเข้าไปปรับตั้งค่าใน bios ของเครื่องคอมพิวเตอร์

วิธี Set bios แบบเต็มรูปแบบอ่านได้ที่นี่ (http://www.it4x.com/forum/index.php?topic=30.0)

วิธีเข้า Bios คร่าวๆ แล้วแต่เครื่อง บางเครื่องกด Del , F2  จะมีหน้าต่างบอกในตอนบูทเครื่องครั้งแรก

หลัง จากที่เข้า Bios แล้วให้เปลี่ยนลำดับการบูต ให้เลือก CD-Rom Drive เป็นตัวแรกครับ (ถ้าหากเป็นแบบนี้อยู่แล้ว ก็ไม่ต้องเปลี่ยนอะไร และแต่ละเครื่อง หน้าตาใน Bios อาจจะไม่ค่อยเหมือนกันครับ ลองหาหาดูคำว่า Boot ต่างๆ)



ทำ การปรับเครื่อง เพื่อให้บูตจาก CD-Rom ก่อน จากนั้นก็บูตเครื่องจากแผ่นซีดี Windows XP Setup โดยเมื่อบูตเครื่องมา จะมีข้อความให้กดปุ่มอะไรก็ได้ เพื่อบูตจากซีดีครับ ก็เคาะ Enter ไปทีนึงก่อน(กด Enter แค่รอบแรกครั้งเดียวเท่านั้น)





โปรแกรมจะทำการตรวจสอบและเช็คข้อมูลอยู่พักนึง รอจนขึ้นหน้าจอถัดไปครับ



เข้ามาสู่หน้า Welcome to Setup กดปุ่ม Enter เพื่อทำการติดตั้งต่อไป



หน้าของ Licensing Agreement กดปุ่ม F8 เพื่อทำการติดตั้งต่อไป



ทำการเลือก Drive ของฮาร์ดดิสก์ที่จะลง Windows XP แล้วกดปุ่ม Enter เพื่อทำการติดตั้งต่อไป



เลือก ชนิดของระบบ FAT ที่จะใช้งานกับ Windows XP หากต้องการใช้ระบบ NTFS ก็เลือกที่ข้อบน แต่ถ้าจะใช้เป็น FAT32 หรือของเดิม ก็เลือกข้อสุดท้ายได้เลย (no changes) ถ้าไม่อยากวุ่นวาย แนะนำให้เลือก Format NTFS นะครับ แล้วกดปุ่ม Enter เพื่อทำการติดตั้งต่อไป



โปรแกรมจะเริ่มต้นขั้นตอนการติดตั้ง รอสักครู่ครับ



หลัง จากนั้น โปรแกรมจะทำการ Restart เครื่องใหม่อีกครั้ง (ให้ใส่แผ่นซีดีไว้ในเครื่องแบบนั้น แต่ไม่ต้องกดปุ่มใด ๆ เมื่อบูตเครื่องใหม่ ปล่อยให้โปรแกรมทำงานไปเองได้เลยครับ)



หลังจากบูตเครื่องมาคราวนี้ จะเริ่มเห็นหน้าตาของ Windows XP แล้วครับ รอสักครู่



โปรแกรมจะเริ่มต้นขั้นตอนการติดตั้งต่าง ๆ ก็รอไปเรื่อย ๆ ครับ



จะมีเมนูของการให้เลือก Regional and Language ให้กดปุ่ม Next ไปเลยครับ ยังไม่ต้องตั้งค่าอะไรในช่วงนี้



ใส่ชื่อและบริษัทของผู้ใช้งาน ใส่เป็นอะไรก็ได้ แล้วกดปุ่ม Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป



ทำการใส่ Product Key (จะมีในด้านหลังของแผ่นซีดี) แล้วกดปุ่ม Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป



หน้าจอให้ใส่ Password ของ Admin ให้ปล่อยว่าง ๆ ไว้แบบนี้แล้วกดปุ่ม Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป




เลือก Time Zone ให้เป็นของไทย (GMT+07:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta แล้วกดปุ่ม Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป



รอ ครับ รอ รอ รอสักพัก จนกระทั่งขั้นตอนต่าง ๆ เสร็จเรียบร้อย ก็พร้อมแล้วสำหรับการเข้าสู่ระบบปฏิบัติการ Windows XP ครับ จากนั้น จะมีการบูตเครื่องใหม่อีกครั้ง เพื่อเริ่มต้นการใช้งานจริง ๆ



บูต เครื่องใหม่คราวนี้ อาจจะมีเมนูแปลก ๆ แบบนี้ เป็นการเลือกว่า เราจะบูตจากระบบ Windows ตัวเก่าหรือจาก Windows XP ครับ ก็เลือกที่ Microsoft Windows XP Professional ครับ ถ้าของใครเลือก Format Ntfs ตอนติดตั้งปัญหานี้ก็จะไม่มีนะครับ



เริ่มต้นบูตเครื่อง เข้าสู่ระบบปฏิบัติการ Windows XP แล้วครับ



ใน ครั้งแรก อาจจะมีการถามเรื่องของขนาดหน้าจอที่ใช้งาน กด OK เพื่อให้ระบบตั้งขนาดหน้าจอให้เราได้เลยครับ นอกจากนี้ ถ้าหากเครื่องไหนมีการถาม การติดตั้งค่าต่าง ๆ ก็กดเลือกที่ Next หรือ Later ไปก่อน บางครั้งอาจจะมีให้เราทำการสร้าง Username อย่างน้อย 1 ฃื่อก่อนเข้าใช้งาน ก็ใส่ชื่อของคุณเข้าไปได้เลย



เสร็จแล้วครับ หน้าตาของการเข้า Windows XP สวยดีครับ



และ นี่คือหน้าตาแรก ของระบบปฏิบัติการ Windows XP Professional ครับ ต่อไปก็เป็นการปรับแต่ง และการลง Driver ของอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้เรียบร้อยต่อไป


~.~.~.~.~.~.~.~.~.~.~.~.~.~.~.~.~.~.~.~.~.~.~.~.~.~.~.~.~.~.~.~.~.~.~

คำสั่ง dos  
        
ระบบปฏิบัติการในรูปแบบของตัวอักษร (Text Mode) ถึงแม้ว่าปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะใช้ Windows (ระบบรูปภาพ หรือ Graphics Mode) แต่อย่างไรก็ตาม การเรียนการใช้งาน DOS ก็ยังถือว่ามีส่วนสำคัญไม่น้อย ตัวอย่างเช่น การติดตั้ง Windows การแบ่ง harddisk แต่ละ drive (Partition Harddisk) อาจจำเป็นต้องมีการ boot เข้าระบบดอสก่อน และเช่นเดียวกับบางบริษัทที่มีใช้งานในระบบเครือข่าย Novell Netware ก็ยังจำเป็นต้องทำงานใรระบบ DOS เช่นกัน
ชื่อ DOS บางท่านอาจเคยเห็นชื่อที่เป็น MS-DOS นั่นหมายถึง Microsoft Disk Operating System (บริษัทไมโครซอร์ฟเป็นผู้ผลิต)
ความยาวของชื่อ-นามสกุล ไฟล์
ความแตกต่างที่เห็นในชัดของชื่อไฟล์ในระบบ DOS กับ Windows คือ ความยาวของชื่อไฟล์ Windows สามารถตั้งชื่อให้ยาวได้มากถึง 255 ตัวอักษร ส่วนในระบบ DOS ชื่อและนามสกุลของไฟล์จะถูกจำกัดได้เพียง
ชื่อยาวไม่เกิน 8 ตัวอักษร นามสกุลยาวไม่เกิน 3 ตัวอักษร
ตัวอย่าง Readme.TXT (ชื่อไฟล์ Readme หลังจุดคือนามสกุล TXT)
คำสั่งระบบ DOS พื้นฐาน
  1. DIR (Directory) - คำสั่งในการแสดงรายชื่อไฟล์ รายชื่อไดเรกทอรี่ (Folder ใน windows ปัจจุบัน)

    ตัวอย่างการใช้งาน (รวมคำสั่งย่อย ๆ)
    Dir - แสดงรายชื่อไฟล์ ไดเรกทอรี่ทั้งหมด พร้อมทั้งขนาดไฟล์ + วันเวลาอัปเดทล่าสุด
    Dir /p - แสดงรายชื่อไฟล์ ไดเรกทอรี่ในแนวนอน ให้หยุดแสดงทีละหน้า (กรณีที่มีจำนวนไฟล์ยาวมากกว่า 1 หน้าจอ)
    Dir /w - แสดงรายชื่อไฟล์ ไดเรกทอรี่ในแนวนอน
    Dir /s, - แสดงรายชื่อไฟล์ ไดเรกทอรี่ และไฟล์ที่อยู่ในไดเรกทอรี่ย่อยด้วย
    Dir /od - แสดงรายชื่อไฟล์ ให้เรียงตามวันที่อัปเดท Dir /n - แสดงรายชื่อไฟล์ ให้เรียงตามชื่อ
  2. CLS (Clear Screen) - คำสั่งสำหรับลบหน้าจอออก
  3. DEL (Delete) - คำสั่งในการลบชื่อไฟล์ที่ต้องการ เช่น DEL readme.txt หมายถึงให้ลบชื่อไฟล์ README.TXT

    ตัวอย่างการใช้งาน (รวมคำสั่งย่อย ๆ)
    Del readme.txt - ลบไฟล์ชื่อ readme.txt
    Del *.* - ให้ลบไฟล์ทั้งหมดที่อยู่ในไดเรกทอรี่ปัจจุบัน
    Del *. - ให้ลบไฟล์ทั้งหมดที่อยู่ในไดเรกทอรี่ปัจจุบัน เฉพาะไฟล์ที่ไม่มีนามสกุล
  4. MD (Make Directory) - คำสั่งในการสร้างไดเรกทอรี่ เช่น MD Photo จะได้ไดเรกทอรี่ C:Photo
  5. CD (Change Directory) - คำสั่งในการเข้าไปในไดเรกทอรี่ (CD คือคำสั่งในการออกจากห้องไดเรกทอรี่)
  6. RD (Remove Directory) - คำสั่งในการลบไดเรกทอรี่ เช่น RD Photo (เราจะต้องอยู่นอกห้องไดเรอทอรี่ Photo)
  7. REN (Rename) - คำสั่งในการเปลี่ยนชื่อชือ เช่น REN readme.txt read.me หมายถึงการเปลี่ยนชื่อไฟล์เป็น READ.ME
ชนิดคำสั่ง DOS
คำสั่งของ DOS มีอยู่ 2 ชนิดคือ
1. คำสั่งภายใน (Internal Command) เป็นคำสั่งที่เรียกใช้ได้ทันทีตลอดเวลาที่เครื่องเปิดใช้งานอยู่ เพราะคำสั่งประเภทนี้ถูกบรรจุลงในหน่วยความจำหลัก (ROM) ตลอดเวลา หลังจากที่ Boot DOS ส่วนมากจะเป็นคำสั่งที่ใช้อยู่เสมอ เช่น CLS, DIR, COPY, REN เป็นต้น
2. คำสั่งภายนอก (External Command) คำสั่งนี้จะถูกเก็บไว้ในดิสก์หรือแผ่น DOS คำสั่งเหล่านี้จะไม่ถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ เมื่อต้องการใช้คำสั่งเหล่านี้คอมพิวเตอร์จะเรียกคำสั่งเข้าสู๋หน่วยความจำ ถ้าแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ไม่มีคำสั่งที่ต้องการใช้อยู่ก็ไม่สามารถเรียกคำสั่งนั้น ๆ ได้ ตัวอย่างเช่น คำสั่ง FORMAT, DISKCOPY, TREE, DELTREE เป็นต้น
รูปแบบและการใช้คำสั่งต่างๆ
ในการใช้คำสั่งต่าง ๆ ของ DOS จะมีการกำหนดอักษรหรือสัญญลักษณ์ ใช้แทนข้อความของรูปแบบคำสั่ง ดังนี้
[d:] หมายถึง Drive เช่น A:, B:
[path] หมายถึง ชื่อไดเรคเตอรี่ย่อย
[filename] หมายถึง ชื่อแฟ้มข้อมูล หรือ ชื่อไฟล์
[.ext] หมายถึง ส่วนขยาย หรือนามสกุล
หมายเหตุ : ข้อความที่อยู่ในวงเล็บ ([ ] ) ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องใส่ในคำสั่ง
รูปแบบและการใช้คำสั่งภายใน (Internal Command)
คำสั่งหน้าที่รูปแบบ
CLS (CLEAR SCREEN) ลบข้อมูลบนจอภาพขณะนั้นCLS
DATEแก้ไข/ดูวันที่ให้กับ SYSTEMDATE
TIMEแก้ไข/ดูเวลา ให้กับ SYSTEMTIME
VER (VERSION)ดูหมายเลข (version) ของดอสVER
VOL (VOLUME)แสดงชื่อของ DISKETTEVOL [d:]
DIR (DIRECTORY)ดูชื่อแฟ้มข้อมูล, เนื้อที่บนแผ่นดิสก์, ชื่อแผ่นดิกส์DIR [d:] [path] [filename [.ext]] [/p] [/w]
  /p หมายถึง แสดงชื่อแฟ้มข้อมูลทีละ 1 หน้าจอภาพ ถ้าต้องการดูหน้าต่อไปให้กดแป้นใด ๆ
  /w หมายถึง แสดงชื่อแฟ้มข้อมูลตามความกว้างของจอภาพ
TYPEแสดงเนื้อหาหรือข้อมูลในแฟ้มข้อมูลที่กำหนดTYPE [d:] [path] [filename.[.ext]]
COPYใช้คัดลอกแฟ้มข้อมูลหนึ่ง หรือหลายแฟ้มข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลต้นทาง ไปยังแฟ้มข้อมูลปลายทาง อาจจะเป็นจากแผ่นดิสก์แผ่นหนึ่งหรือแผ่นดิสก์เดิมก็ได้COPY [d:] [path] [filename[.ext]] [d:] [path] filename[.ext]]
REN (RENAME]เปลี่ยนชื่อแฟ้มข้อมูล (ข้อมูลข้างในแแฟ้มข้อมูลยังเหมือนเดิม)REN [d:] [path] [oldfilename[.ext]] [newfilename[.ext]]
DEL (DELETE) ลบแฟ้มข้อมูลออกจากแฟ่นดิสก์DEL [d:] [path] [filename[.ext]]
PROMPT COMMANDเปลี่ยนรูปแบบตัวพร้อมรับคำสั่ง (system prompt) เป็นตัวใหม่ตามที่ต้องการPROMPT [prompt-text] or propt $p$
  $ หมายถึงตัวอักษร
  t หมายถึง เวลา
  d หมายถึง วัน เดือน ปี
  p หมายถึง เส้นทาง Directory ปัจจุบัน
  v หมายถึง DOS VERSION NUMBER
  g หมายถึง เครื่องหมาย >
  l หมายถึง เครื่องหมาย <
  q หมายถึง เครื่องหมาย =
MD (MAKE DIRECTORY)สร้าง subdirectory (ห้องย่อย) เพื่อจัดเก็บแฟ้มข้อมูลMD [d:] [path] [Dir_name]
CD (CHANGE DIRECTORY)เป็นคำสั่งในการเปลี่ยนไปใช้งาน subdirectory ที่ต้องการCD [d:] [path] [Dir_name]
CD (การย้ายกลับมาสู่ ROOT DIRECTORY
CD.. (การย้ายกลับมาที่ DIRECTORY)
RD (REMOVE DIRECTORY)ลบ subdirectory (ห้องย่อย) ที่สร้างด้วยคำสั่ง MDRD [d:] [path] [Dir_name]
คำสั่งภายนอก(EXTERNAL COMMAND)
คำสั่งภายนอกมี 2 นามสกุล
1.นามสกุลเป็น .COM เป็น file ที่บรรจุข้อมูลที่ถูกแปลงเป็นภาษาเครื่องแล้ว
2.นามสกุลเป็น .EXE เป็น file ที่บรรจุข้อมูลที่เขียนโดยใช้ภาษาระดับสูงและแปลงเป็นภาษาเครื่องแล้ว
รูปแบบและการใช้คำสั่งภายใน (Internal Command)
คำสั่งหน้าที่รูปแบบ
TREEแสดงรายชื่อ directory ทั้งหมดในแผ่นดิสก์ ที่กำหนดTREE [d:] [/f]
  /f หมายถึงรายชื่อแฟ้มข้อมูลในแต่ละ subdirectory ด้วย
SYS (SYSTEM)เป็นคำสั่ง copy แฟ้มข้อมูลที่ใช้ในการเปิดเครื่องลงในแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ ที่ไม่มีระบบ (เปิดเครื่องไม่ได้)SYS [d:]
CHKDSK (CHECK DISK)ตรวจสอบ directory หรือ file แสดงจำนวน memory ที่ใช้ไปและที่เหลืออยู่ รวมถึงเนื้อที่ บนแผ่นดิสก์ที่ใช้ไป และที่เหลืออยู่CHKDSK [d:] [path] [filename[.ext]] [/f] [/v]
  /f หมายถึง การตรวจสอบเนื้อที่ที่เสียหาย
  /v หมายถึง ให้แสดง directory และ แฟ้มข้อมูลที่ซ่อนอยู่
LABELเพื่อกำหนดชื่อ (volume label), เปลี่ยนหรือลบ volume label บนดิสก์ LABEL [d:] [volume label]
FORMATกรณีที่ diskette ใหม่ จะเป็นการจัด track และ sector ของ diskette ใหม่ เพื่อให้เขียนข้อมูลได้
กรณีที่เป็น diskette ที่มีข้อมูลอยู่แล้วเมื่อใช้คำสั่งนี้ข้อมูลจะถูกล้างไปหมด พร้อมที่เขียนข้อมูลใหม่
FORMAT [d:] [/s] [/v]
  /s หมายถึง ทำการ format โดยทำการคัดลอก โปรแกรมระบบดอส (BIO.COM, OS.COM, COMMAND.COM)
 /v หมายถึง กำหนด volume label ให้ดิสก์
DISKCOPY (COPY DISKETTE) เป็นคำสั่งที่ใช้ copy file ทั้งหมดจากแผ่นดิสก์จากแผ่นหนึ่งไปใส่อีกแผ่นหนึ่ง แต่ถ้าแผ่นดิสก์อีกแผ่น ยังไม่ได้ทำการ format ก็จะทำการ format ให้โดยอัตโนมัติDISKCOPY [d:] [d:]
ทดลองใช้คำสั่ง DOS ใน Windows
สำหรับผู้ใช้งาน Windows 95,98 สามารถทดสอบการใช้งานระบบ DOS ได้ มีวิธีเรียกใช้งานดังนี้
  1. คลิกปุ่ม Start เลือก คำสั่ง RUN พิมพ์คำว่า Command หรือ
  2. คลิกปุ่ม Start เลือกเมนู Program และเลือกโปรแกรม MS-DOS
  3. ต้องการให้หน้าจอแสดง DOS เต็มจอให้กดปุ่ม ALT พร้อมกับปุ่ม Enter
  4. และถ้าต้องการให้หน้าจอเล็กดังเดิม ก็ให้กดปุ่ม ALT พร้อมกับปุ่ม Enter เช่นเดียวกัน
  5. เลิกทดสอบและต้องการเข้าระบบ Windows ให้พิมพ์คำว่า EXIT
การติดตั้งโปรแกรมดอสจากแผ่นดิสก์ 4 แผ่น
  1. ให้นำแผ่น DOS แผ่นที่ 1 ใส่ในไดร์ฟ A แล้ว Restart เครื่อง
  2. รอสักพักจะมีหน้าจอสีฟ้า ให้กด Enter เลยไป
  3. พบกรอบสี่เหลี่ยมมีข้อความให้เลือก 2 บรรทัด คือ บรรทัดแรกออกจากไป DOS Prompt
  4. บรรทัดที่ 2 ให้ SETUP โปรแกรม DOS ให้เลือกรายการ SETUP กด N
  5. จะพบข้อความว่า The Setting are Correct แปลว่า การติดตั้งถูกต้องให้กด Enter
  6. จะพบข้อความให้เปลี่ยนชื่อ Directory C:DOS ถ้าไม่ประสงค์จะเปลี่ยนให้กด Enter
  7. จะพบข้อความสีฟ้าอ่อน ความหมายคือ โปรแกรมจะเริ่มตรวจเช็คค่าที่จำเป็นเกี่ยวกับภาษา กด Enter
  8. จะพบกรอบข้อความที่มีข้อความว่า เก็บค่า เก็บค่าออกจากโปรแกรม ให้เลื่อนแถบสีแดงมาทับ แล้วกด Enter
  9. โปรแกรมจะเริ่ม COPY ไฟล์จากแผ่นลงฮาร์ดดิสก์จากแผ่นที่ 1 ไปเรื่อย ๆ จนมีรายการหน้าจอให้ใส่แผ่นที่ 2 , 3 และ 4 ตามลำดับ
  10. ส่วนแผ่นที่ 4 พอได้ 99% จะมีรายงานให้กด Y กด Y แล้วกดดังรูป
  11. แล้วรอสักพักจะมีรายงานให้กด Enter และมีรายงานให้นำแผ่นออกจากไดร์ฟ A แล้ว Restart เครื่องอีกครั้ง การลงโปรแกรม DOS ก็เสร็จเรียบร้อย

วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2555

ใบงานที่ 2 ประวัติคอมพิวเตอร์

เมื่อมนุษย์รู้จักการคิด รู้จักการนับ ก็เริ่มมีความพยายามหาวิธีการ
ในการนับของตัวเอง โดยครั้งแรกก็ใช้นิ้วมือช่วยในการนับ เมื่อนิ้วมือเป็นอุปกรณ์
ที่ไม่เพียงพอสำหรับการนับ ก็พยายามคิดหาอุปกรณ์อย่างอื่น มาแทน โดยเริ่มนับก้อนหิน
ก้อนกรวด ปมเชือก เปลือกหอย และต่อมาความคิดของมนุษย์
ก็มีพัฒนาการขึ้น รู้จักคิดในสิ่งที่ยากและซับซ้อนการนับมากและต่อเนื่องขึ้น
 เขาจึงหาวิธีที่จะทำการรวบรวมการนับของเขาไว้ด้วยกัน ก็หาวิธีใหม่โดยการ
ใช้วิธีการจดบันทึกสิ่งของ แรกเริ่มโดยการขีดบนพื้นดิน ต่อมาก็ใช้บันทึกลงบนกระดาษ
เมื่อมนุษย์ มีความต้องการด้านการคำนวณมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทางด้านคณิตศาสตร์
หรือวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์จึงได้คิดค้น
อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อนำมาช่วยในการนับและการคำนวณ และเมื่อประมาณ 2600 ปี
 ก่อนคริตศักราช มีชาวจีน ได้ประดิษฐ์เครื่องมือการนับ ซึ่งถือเป็นเครื่อง
คำนวณเครื่องแรก เรียกว่า ลูกคิด (Soroban or Abarcus) เพื่อใช้ในการคำนวณ
ที่ค่อนข้างง่าย และลูกคิดยังเป็นเครื่องคิดเลขที่มีการใช้กันอย่างแพร่
หลายในปัจจุบัน ลักษณะการทำงานของลูกคิดนั้น ใช้วิธีการนับ ซึ่งเป็นพื้นฐานของ
 คอมพิวเตอร์ดิจิตอล (Digital Computer) แต่ลูกคิดยังมี
ข้อเสีย คือ ไม่สามารถบันทึกการคำนวณเอาไว้ตรวจสอบไม่ได้
 มนุษย์จึงพยายามหาวิธีการผ่อนแรง ด้วยการสร้างเครื่องมือคำนวณ ชนิดต่างๆ ขึ้นต่อไป



ลูกคิด
ในปี ค.ศ. 1617 : จอห์น เนปียร์ (John Napier) นักคณิตศาสตร์ชาวสก็อตแลนด์ ได้สร้างคิดอุปกรณ์ที่ช่วยในการคูณ การหาร หรือถอดกรณฑ์
ให้ง่ายขึ้น เรียกอุปกรณ์ชนิดนี้ว่า ตารางลอกการิทึม หรือ Napier's bone 
Napier's bone
ในปีถัดมา : วิลเลียม ออกเกด (Willium Ougtred) นักคณิตศาสตร์ ชาวอังกฤษ ได้ผลิตไม้บรรทัดคำนวณ (Slide Rule) เพื่อช่วยในการคูณ
ซึ่งนิยมใช้กันมากในงานด้านวิศวกรรมและงานด้านวิทยาศาสตร์
ในปี ค.ศ. 1623 : เบล์ส ปาสคาล (Blaise Pascal) นักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์ ชาวผรั่งเศส ได้ประดิษฐ์เครื่องจักรกล ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องบวก
เลขของโลก ที่สามารถบวกและลบได้ในรูปแบบของจำนวนเลขฐานสิบ โดยใช้ฟันเฟืองเป็นตัวทดกันได้ 8 ตัว วางขนานเป็นแนวนอน โดยตำแหน่งของวงล้อนี้
จะมองเห็นจากภายนอก ส่วนตัวเลขจะไปปรากฎที่ฝาครอบวงล้อ แต่ละวงจะมีฟันเฟืองอยู่ 10 อัน ซึ่งแต่ละอันจะแทนเลข 1 หลักนั่นเอง


เครื่องบวกเลขปาสคาล
ดังนั้น เมื่อเฟืองหมุนครบ 10 ก็จะมาเริ่มต้นที่ 0 ใหม่ แล้วทำให้เฟืองที่อยู่ถัดไปหมุน 1 หลัก ซึ่งเป็นการทดเลขขึ้นไปนั่นเอง จากการทำงานของเครื่องบวกเลขนี้ เป็นหลักการเช่นเดียวกับการวัดระยะทาง ตามที่ปรากฏบนหน้าปัทม์รถยนต์ทั่วๆไป
ในปี ค.ศ. 1646 : กอทฟริด วิลเฮลม ลิปนิซ (Gottfried Wilhelm Leibniz) นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน ได้ประดิษฐ์เครื่องคำนวณที่สามารถคูณ หาร
และหารากที่สอง เรียกเครื่องมือชนิดนี้ว่า อาริทโมมิเตอร์ (Arithmometer Machine)
ในปี ค.ศ. 1791 : ชาร์ล แบบเบจ (Charles Babbage) ศาสตราจารย์ทางคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ได้ประดิษฐ์เครื่อง
คำนวณ เรียกว่า เครื่องหาผลต่าง (Difference Engine) เพื่อใช้ในการคำนวณและพิมพ์ค่าของตรีโกณมิติ และค่าลอกการิทึมต่างๆ
นปี พ.ศ.2365 : ชาร์ล แบบเบจ ได้ออกแบบเครื่องคำนวณ ที่เรียกว่า เครื่องวิเคราะห์
(Analytical engine ) เป็นเครื่องคำนวณ ที่ช่วยเพิ่มแนวความคิดของเครื่องคอมพิวเตอร์
ในปัจจุบัน เพราะเครื่องวิเคราะห์นี้ มีส่วนที่ใช้เก็บข้อมูล ส่วนคำนวณและส่วนควบคุม
การทำงานสามารถบวกเลขได้ในเวลา 1 วินาที เก็บข้อมูลได้โดยใช้บัตรเจาะรู และสามารถเก็บได้ถึง 50,000 ตัวเลข ดังนั้น ชาร์ล แบบเบจ จีงเป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรก
ที่ให้ความคิดริเริ่ม ในการสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน และถือว่า ชาร์ล แบบเบจ เป็น
บิดาแห่งคอมพิวเตอร์

ในปี ค.ศ. 1805 : ไจเซฟ แมรี่ แจคคาร์ด (Joseph Marie Jacquard) นักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศส ได้คิดค้นวิธีการควบคุมการทอผ้าลายต่างๆ
โดยใช้ช่องที่เจาะไว้บนบัตร บัตรนี้เรียกว่า Pastboard Card ต่อมา ชาร์ล แบบเบจ จึงได้นำเอาบัตรเจาะรูมาใช้ในการควบคุมเครื่อง Analytical
Engine บัตรเจาะรูชนิดนี้ จะใช้บันทึกข้อมูลเข้าไปในเครื่องจักร และนำผลลัพธ์ออกมา การควบคุมการทำงานตามลำดับ Pastboard Card ได้รับการ
ปรับปรุงมาเป็นบัตรเจาะรู ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ในปี ค.ศ. 1815 : เอดา ออคุสตา (Ada Augusta) นักคณิตศาสตร์ ได้นำหลักการของ ชาร์ล แบบเบจ มาใช้ ซึ่งนำเครื่อง Analytical Engine
ไปแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ในเวลาต่อมา เอดา จึงได้รับการยกย่องให้เป็น โปรแกรมเมอร์ คนแรกของโลก
ในปี ค.ศ. 1815 - 1864 : ยอร์จ บูล (George Boole) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้สร้างพีชคณิตระบบใหม่ที่เรียกว่า Boolean Algebra
คณิตศาสตร์แบบนี้ เป็นเค้าโครงของระบบซึ่งเป็นสัญลักษณ์ทางตรรกวิทยา (Symbolic Logic) สำหรับหาข้อเท็จจริง เหตุผลต่างๆ ในลักษณะที่เป็นเงื่อนไข
ซึ่งถือว่าเป็นการวางรากฐานทางคณิตศาสตร์ให้แก่การพัฒนาไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้มีผลเชื่อมโยงถึงความคิดเกี่ยวกับเลขฐานสอง
(Binary Number) ที่นำไปแทนสถานภาพทางไฟฟ้า ซึ่งเป็นพื้นฐานของดิจิตอลคอมพิวเตอร์ (Digital Computer)

Boolean Algebra
ในปี 1860 - 1929 : ดร.เฮอร์แมน ฮอลเลอริช (Dr.Herman Hollerith) นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน ได้ประดิษฐ์เครื่องประมวลผลทางสถิติ ที่เรียกว่า
Tabulating Machine ซึ่งเครื่องนี้ได้นำมาใช้กับบัตรเจาะรู และนำมาใช้กับงานประมวลผลข้อมูลสำมะโนประชากร ในประเทศสหรัฐอเมริกา ต่อมา
ดร.เฮอร์แมน ฮอลเลอริช ได้นำเอาหลักการของ Jacquard มาดัดแปลงให้เข้ากับบัตรที่ตนเองผลิตขึ้น บัตรนี้เรียกว่า "บัตรฮอลเลอริธ" ซึ่งถือเป็นรหัส
ภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์ บัตรเจาะของดร.เฮอร์แมน ฮอลเลอริช ได้พัฒนามาจนถึงปัจจุบัน ที่เรียกว่า บัตรไอบีเอ็ม ( IBM.Card) หรือ บัตร 80 คอลัมน์ 
IBM.Card Machine
ในปี ค.ศ. 1944 : ศาสตราจารย์โฮเวิร์ด เฮช ไอเคน (Howord H. Aiken) ภาควิชาคณิตศาสตร์ ของ ม.ฮาวาร์ดและวิศวกรของบริษัท IBM. ได้ช่วย
กันสร้างเครื่องคำนวณ Electronic ซึ่งสามารถทำงานได้อย่างอัตโนมัติ เรียกว่า Automatic Sequence Controlled Calculator : ASCC. ซึ่ง
รู้จักกันในชื่อ IBM Mark I
IBM - Mark I เป็นคอมพิวเตอร์ เครื่องแรก มีโครงสร้างเหมือนกับแนวคิดของ ชาร์ล
แบบเบจ เครื่อง IBM - Mark I เป็นเครื่องขนาดใหญ่ และทำงานช้า เมื่อเปรียบเทียบกับ
เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน แต่ IBM - Mark I ได้ช่วยงานในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
และยังได้พัฒนาให้มีประสิทธิภาพดีกว่าเดิม เป็น IBM-Mark II , IBM - Mark III และ
IBM - Mark IV ตามลำดับ
หลังจากที่ เครื่อง IBM - Mark I เครื่องแรกของโลก ถูกยกเลิกใช้งานแล้ว ได้ถูกเก็บ
ไว้ที่สถาบันสมิทโซเนียน ในกรุงวอชิงตัน ดีซี ประเทศสหรัฐฯ และอีกบางชิ้นส่วนยังคงอยู่
ในห้องทดลอง ม.ฮาวาร์ด
ในปี ค.ศ. 1938 : จอห์น อทานาโซฟ (John Atanasoff) และ ชิฟฟอร์ด เบรี่ (Chifford Berry) แห่งมหาวิทยาลัยไอโอวา ได้ประดิษฐ์เครื่อง
อิเลคทรอนิคส์ ดิจิตอลคอมพิวเตอร์ สำเร็จเป็นเครื่องแรก โดยเรียกว่า "ABC" (Atanasoff-Berry Computer) แต่เครื่องชนิดนี้ ยังไม่สมบูรณ์
จึงได้ถูกยกเลิกไป 

ABC Computer
ในปี ค.ศ. 1943 : ดร.จอห์น มอชเล่ย์ (Dr.John Mauchley) และ ดร.เจ พี เอคเกิร์ท (J.P. Eckert) ม.เพนซิลเวเนีย ได้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์
ที่เป็น Electronic Computer เป็นเครื่องคอมเครื่องแรก ชื่อ ENIAC (Electronic Numberial Integrator and Calculator
เครื่อง Eniac เป็นเครื่องแรก ที่ใช้ระบบ Electronic ทั้งหมด และใช้หลอดสูญญากาศแทน
วงล้อต่างๆ เป็นเครื่องที่ทำงานด้วยวงจรไฟฟ้า จึงทำงานได้อย่างรวดเร็ว การทำงานควบคุม
โดยวงแหวนและแผงไฟฟ้าต่างๆ ซึ่งเครื่อง Eniac นี้ มีประโยชน์ต่อกองทัพสหรัฐมาก ในการ
นำมาคำนวณในเรื่องของขีปนาวุธ การทำงานของเครื่อง Eniac นี้ ทำงานได้ดีกว่าเครื่อง ASCC
แต่เครื่อง Eniac มีข้อเสียตรงที่ไม่มีส่วนความจำภายใน มีความยุ่งยากในการสั่งงาน และการ
ทำงานต้องเดินสายไฟฟ้าเสียบด้วยมือ ซึ่งเสียเวลามาก การทำงานต้องทำการทดสอบให้แน่ใจ
เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ ที่มีความแม่นยำตามที่ต้องการ
แนวความคิดในการเก็บชุดคำสั่งไว้ภายในเครื่อง โดย ดร. จอห์น ฟอน นอยมันย์ ( Dr.John
Von Neunann) ได้ให้ความคิดเกี่ยวกับการ Stored Program และการใช้ระบบเลขฐานสอง
ในการสร้างคอมพิวเตอร์ คือการเก็บคำสั่งต่างๆ ไว้ในส่วนที่เรียกว่า หน่วยความจำ (Memory)
เพื่อแก้ข้อบกพร่องของเครื่อง Eniac เอคเกร์ต และมอชเลย์ ได้เริ่มสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องที่ 2 คือ เอ็ดแว็ก (EDVAC : Electonic -
Discrete Veritable Automatic Computer) เครื่อง EDVAC เป็นเครื่องอิเลคทรอนิคส์ เครื่องแรก ที่ได้นำความคิดของ ดร.จอห์น ฟอน นอยมันต์
ในเรื่องการเก็บคำสั่งไว้ในเครื่อง และยังใช้ระบบเลขฐานสอง ภายในเครื่องอีกด้วย

เครื่อง EDVAC
ปี ค.ศ. 1951 : ดร.จอห์น มอชเล่ย์ และ ดร.เจ พี เอคเกิร์ท ได้ประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่มีชื่อว่า UNIVAC I (Universal Automatic -
Computer) สามารถทำงานได้อย่างอัตโนมัติ สมบูรณ์แบบ ซึ่งนำไปใช้งานได้อย่างชนิด เช่น ทางด้านวิทยาศาสตร์ , ทางด้านวิศวกรรม


เครื่อง UNIVAC I นี้ ได้ถูกพัฒนาให้น้ำหนักเพียง 5 ตัน มีความสูง 8 ฟุต มีความยาว 15 ฟุต

การพัฒนาทางด้านอิเลคทรอนิคส์ ได้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว จากหลอดสุญญากาศ ได้เปลี่ยน มาใช้ทรานซิสเตอร์ (Transistor)
ซึ่งเป็นอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ ทำงานได้เหมือนหลอดสุญญากาศ มีขนาดเล็กกว่าหลายสิบเท่า ราคาถูกกว่าและเกิดความร้อนน้อยกว่าเดิม
จากการใช้งานหลอดสุญญากาศมาเป็นทรานซิสเตอร์ นั้นราคาของคอมพิวเตอร์ก็ยังมีราคาสูงเพราะต้องใช้ทรานซิสเตอร์จำนวนมาก
การพัฒนาคอมพิวเตอร์ในเวลาต่อมา พยายามย่อส่วนให้มีขนาดเล็กลงโดยใช้ สารซิลิคอน (Silicon) ที่บริสุทธิ์ มาทำเป็นแผ่นบางๆ
แล้วใส่สารเจือปนลงบนแผ่นซิลิกอน
แผ่นซิลิกอน ดังกล่าวสามารถบรรจุทรานซิสเตอร์ได้หลายพันตัว โยอาศัยวิธีสกัดด้วยแสง ทำให้เกิดวงจรทรานซิสเตอร์มากมาย
ในพื้นที่เพียงนิดเดียว เรียกว่า วงจรร่วม หรือ ไอซี IC. (Integrator Circuit) ภายใน 1 ตัวของ IC. เสมือนประกอบด้วย
ทรานซิสเตอร์นับร้อยตัวประกอบเป็นวงจรไว้แล้ว การนำ IC. มาสร้างเป็นคอมพิวเตอร์ ทำให้องค์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์เล็กลง
แต่มีความสามารถในการทำงานด้วยความเร็วสูง 

หลอดสุญญากาศ ( VACUUM ) ทรานซิสเตอร์ ( Trasister) สารซิลิคอน (Silicon) 
การพัฒนาของคอมพิวเตอร์ยังไม่ได้หยุดเพียงแต่ IC. เท่านั้น วิศวกรและนักวิทยาศาสตร์ ได้พยายามย่อขนาดของวงจรอิเลคทรอนิคส์ ให้เล็กลงอีก
โดยรวมเอา IC. หลายพันตัว รวมกันไว้เป็นตัวเดียวกัน เรียกวงจรนี้ว่า LSI. (Large Scale Integrated Circuit) ภายใน LSI. หนึ่งตัวเสมือนมี
ทรานซิสเตอร์ประกอบเป็นวงจรนับพันตัว LSI. มีขนาดเล็กมาก แต่ละตัวจะถูกสร้างมาให้ทำหน้าที่ แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับการออกแบบของผู้ผลิต
โดยมีหมายเลขกำกับไว้และมีคู่มืออธิบายถึงการทำงานของ LSI. หมายเลขนั้นๆ มี LSI. บางหมายเลขที่บริษัท
ผลิตออกแบบ เพื่อให้มีการทำงานในหน้าที่ หน่วยประมวลผลกลางของเครื่องคอมพิวเตอร์ เรียกว่า
ไมโครโปเซสเซอร์ (Microprocessor) ซึ่งมีขนาดเล็ก ราคาถูก และมีประสิทธิภาพในการทำงานสูง